เมื่อใดก็ตามที่ผิวหนังคนเราได้รับการบาดเจ็บจนเกิดเป็นแผลขึ้น
ธรรมชาติจะพยายามซ่อมแซมตัวเอง
แต่โชคไม่ดี
การหายของผิวหนังแม้ว่าจะค่อนข้างดีแต่ไม่สมบูรณ์
(คือเกิดแผลเป็นเสมอ)
และบางครั้งผลที่ได้กลับเป็นที่ไม่ปรารถนา
(กลายเป็นแผลเป็นที่ผิดปกติ)
ดังนั้น
ขอให้ทุกท่านทำความเข้าใจเสียตรงนี้ว่า
ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดก็ตาม
เมื่อเกิดแผลขึ้นแล้ว(ทั้งหมอทำขึ้นและจากการบาดเจ็บ)จะต้องมีแผลเป็นเสมอ
เพียงแต่ว่า
แผลเป็นนั้นจะมองเห็นได้ชัดเพียงใด
(ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง)
และถ้ามันใหญ่โตเกินปกติ
แผลเป็นพวกนี้ก็ถือว่าผิดปกติ
(มีชื่อเรียกเฉพาะ)
ปัจจัยสำคัญประการแรกที่มีผลต่อลักษณะของแผลเป็น
คือ ประเภทของแผล
- แผลถลอก หมายถึง
แผลตื้นๆที่มีการสูญเสียแค่ผิวหนังชั้นหนังกำพร้า
(รูปที่ 1)
แผลแบบนี้จึงหายได้ง่าย
แผลเป็นแทบมองไม่เห็น
- แผลฉีกขาด หมายถึง
แผลที่มองเห็นได้ว่าผิวหนังมีการฉีกขาดชัดเจน
(รูปที่ 2)
แผลเป็นก็แปลตามความลึก(อ่านต่อในหัวข้อ"ปัจจัยอื่นๆ")
ถ้าดูแลได้ดี
แผลเป็นก็จะควรจะดี
- แผลฟกช้ำ หมายถึง
แผลที่ผิวหนังชั้นบนสุดไม่มีการฉีกขาดหรือแตกแยกเห็นเป็นแผลดังคำที่ใช้
แต่มีการบาดเจ็บ บวม
หรือเลือดออกอยู่ข้างใต้
(รูปที่ 3) แผลแบบนี้ส่วนใหญ่ก็หายได้เองทั้งหมดจนไม่มีแผลเป็นร่องรอยให้เห็น
ถ้าก้อนเลือดที่คั่งอยู่ข้างใต้นั้นไม่มากจนเกิดติดเชื้อ
ละลายเป็นน้ำเหลืองคั่ง
หรือทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นเปลี่ยนไป
อย่างไรก็ตาม
ประเภทของแผลไม่ใช่สิ่งเดียวที่ส่งผลต่อลักษณะแผลเป็น
ยังมีปัจจัยอื่นๆที่มีความสำคัญ
นอกจากนี้
ระหว่างที่แผลกำลังหาย
ลักษณะแผลที่เราเห็นจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอด
จนกว่าแผลเป็นจะสุก
(maturation)
จำเป็นมากที่ท่านควรจะต้องมีความรู้เรื่องนี้ไว้ด้วย
กลับไปด้านบนสุด |