เมื่อเกิดแผลจนแผลปิดได้
ไม่ว่าจะโดยการเย็บปิดหรือปล่อยหายเอง
เราจะสามารถสังเกตได้ว่าแผลเป็นที่เกิดขึ้นมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
กล่าวคือ
- ระยะแรกแผลเป็นจะสีแดงเข้ม
อาจมีเจ็บได้เล็กน้อยเวลาจับต้องหรือกระทบถูก
หรือเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนที่เป็นแผล
อาจมีคันเล็กน้อยได้
ช่วงนี้ผู้ป่วยจะรู้สึกได้ว่าแผลยังไม่หายดี
"ยังไม่สมาน"
อะไรทำนองนี้
- ระยะต่อมาประมาณ 3
เดือนไปแล้ว
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะลืมไปแล้วว่ามีแผล
เพราะไม่มีความเจ็บปวด
ไม่ตึง
แต่แผลเป็นยังจะดูแดงอ่อนๆหรือน้ำตาลแก่ๆเข้มๆขึ้นกับลักษณะผิวแต่ละคน
บางรายจะมีคันเล็กน้อย
เมื่อคลำดูมักจะแข็งกว่าผิวหนังปกติ
- ต่อมา หลัง 6 เดือน
คุณจะเห็นแผลเป็นไม่มีอาการอะไร
เห็นแค่เป็นสีผิวเนื้อคุณที่อาจจะเข้มกว่าปกติ
คลำดูจะนิ่มกว่าเดิมไปเรื่อยๆตามกาลเวลา
- หลัง 1-2 ปี
แผลเป็นเรียกได้ว่า "สุก"
(mature)
คือไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกแล้ว
มันเป็นระยะที่จะมีลักษณะถาวร
คือ
จะอยู่กับคุณเช่นนั้นตลอดไป
เรื่องนี้มีความสำคัญกับคุณอย่างไร
ก็ถ้าคุณไม่ทราบ
คุณก็อาจดิ้นรนไปหาทางรักษาแผลเป็นที่ยังไม่สุก
หาซื้อยาทา ยาฉีด
หรือแม้แต่ผ่าตัด
โดยไม่จำเป็น
ทั้งที่จริงๆแล้วเดี๋ยวมันก็ดีขึ้นเอง
ถ้าจะทำอะไรหมอที่ทราบเรื่องนี้ดี
ก็จะแนะนำให้คุณรอ 1-2
ปีอย่างน้อย
ค่อยคิดจะทำการรักษาแผลเป็น
(เวลานี้เรากำลังพูดถึงเฉพาะแผลเป็นปกตินะครับ)
ส่วนยาทา ไม่ว่า เรพาริล
(reparil) หรือ ฮีรูดอย (hirudoid)
ล้วนไม่เคยมีการพิสูจน์อย่างถูกต้องตามหลักการทางวิทยาศาสตร์แบบไม่มีอคิติว่าได้ผลในการรักษาแผลเป็นใดๆ
แต่ถ้าคุณมีเงินจะใช้อย่างสบายใจก็ไม่ว่ากัน
กลับไปด้านบนสุด |