|
|
หากมีแผล 2
แผลที่เป็นประเภทเดียวกัน
เช่นแผลฉีกขาดเหมือนกัน
แผลก็อาจจะหายและมีแผลเป็นไม่เหมือนกัน
ต่อไปนี้เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อลักษณะแผลเป็น
ความลึกของแผล
- ตามรูปที่ 1
หากแผลตื้นเพียงแค่ระดับ
A แผลจะหายได้ดีมาก
แผลเป็นดีมากถ้าดูแลถูกต้อง
- หากแผลลึกถึงระดับ B
แผลยังจะหายได้ดีพอควร
แต่มักจะมีแผลเป็นมองเห็นได้
- หากแผลลึกถึงระดับ C
ไม่มีโอกาสเลยที่จะไม่มีแผลเป็น
ยกเว้นกรณีแผลฟกช้ำ (อ่านต่อด้านล่าง)
อายุผู้ป่วย
เป็นความจริงที่ว่า
ผิวเด็กนั้นมีขบวนการหายดีกว่าง่ายกว่าผิวผู้ใหญ่
แต่ไม่จริงที่ว่า
แผลเป็นที่เกิดขึ้นของเด็กจะดีกว่าแผลเป็นผู้ใหญ่
เพราะในทางการแพทย์
เราพบว่า
แผลเป็นในเด็กจะดีมากสุดตอนอยู่ในท้อง
แล้วค่อยๆแย่ลงเรื่อยๆจนเข้าวัยเรียน
ตั้งแต่อายุ 5-15 ปี
หากเกิดแผล
แผลเป็นจะไม่ดี
ต้องรอจนแก่ไปอีกจะกลายเป็นว่าแผลเป็นกลับดีขึ้น
เชื่อว่าเป็นเพราะความตึงผิวหนังสูงมาก
และผิวหนังมีการเปลี่ยนแปลงสูงในช่วงอายุนั้น
วิธีการดูแลรักษา
ตั้งแต่การรักษาเพื่อให้แผลปิด
การดูแลระหว่างแผลกำลังหาย
การปฏิบัติตัวเพื่อให้แผลเป็นดีที่สุด
ล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น
ยกตัวอย่างเช่น
|
หากเป็นแผลฉีกกว้าง
การเย็บแผลปิดกลายเป็นแผลเส้นเดียว
ย่อมได้แผลเป็นที่ดีกว่าปล่อยให้หายเองโดยไม่เย็บ |
|
เทคนิคการเย็บแผลด้วยความนิ่มนวล
ใช้เข็มขนาดเล็ก
ใช้ไหมที่ดีไม่มีปฏิกิริยา
ย่อมทำให้แผลเป็นออกมาดี |
|
ในบางกรณีหรือแผลบางตำแหน่งที่มีความตึงสูงมาก
เช่น หลัง หน้าอก แขนขา
เทคนิคเย็บแผลที่สามารถยึดขอบแผลไว้ด้วยกันนานกว่า
6 สัปดาห์
ย่อมดีกว่าการเย็บด้วยไหมหนึ่งชั้นแล้วตัดไหมตอน
5-7 วัน
เพราะผิวหนังต้องใช้เวลานานถึง
6
สัปดาห์กว่าจะมีความแข็งแรงพอโดยไม่ต้องอาศัยไหมช่วย |
|
ในขณะเดียวกัน
การตัดไหมที่เย็บผิวหนังไว้ช้าเกินไป
ก็จะได้แผลเป็นจากรอยไหม
อย่างที่คุณอาจเคยเห็นเป็นตีนตะขาบ |
|
ระหว่างแผลกำลังหาย
คือ 6 เดือนแรก
การถูกแดดโดยตรงจะทำให้แผลเป็นสีเข้ม
จึงควรหลีกเลี่ยงและใช้ครีมกันแดดร่วมด้วย |
นอกจากนี้แล้ว
ยังมีการรักษาแผลเป็นด้วยวิธีพิเศษอื่นๆ
เช่น การชัดผิว (dermabrasion),
การผ่าตัดแก้แผลเป็น (scar
revision), การใช้แสงผสม
(Intense Pulsed Light Source)
ความสะอาดของแผล
ความสะอาดสกปรกของเนื้อแผลก่อนได้รับการรักษามีผลโดยตรง
เพราะจะทำให้แผลมีการอักเสบ
และมีโอกาสติดเชื้อได้
ภาวะแทรกซ้อน
หากแผลมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น
เช่น ติดเชื้อ
เลือดออกในแผล
ย่อมทำให้แผลเป็นแย่กว่าแผลที่หายอย่างดี
กลับไปด้านบนสุด |
|
รูปที่ 1- ผิวหนังปกติ
ชั้นบนสุดบางๆสีเข้มเป็น
"ชั้นหนังกำพร้า"
ถัดลงมาที่เห็นเป็นชั้นหนาสีขาวๆ
(A, B) ฺคือ "ชั้นหนังแท้"
ชั้นล่างสุดคือชั้นไขมัน
(C)
|