แผลเป็นที่คุณๆไม่ชอบกันมีลักษณะต่างๆได้
ดังนี้
แผลเป็นขยายกว้าง (spreading scar)
แทนที่จะเป็นแผลเป็นเส้นเดียวบางๆ
จะเห็นเป็นแผลเป็นกว้างไม่นูน
สีอาจจะจางหรือเข้มก็ได้
สาเหตุอาจเป็นเพราะ 1)
ไม่ได้เย็บแผล
แผลก็เลยหายทั้งที่ขอบแผลห่างๆกันอย่างนั้น
หรือ 2) เย็บแผล
แต่วิธีการเย็บและดูแลแผลไม่ดีพอที่จะทนต่อแรงดึงของผิวหนังบริเวณนั้น
เช่น ตัดไหมเร็วไป
ใช้ไหมที่ละลายเร็วไป
หรือเย็บชั้นในใต้ผิวหนังไม่ดีพอ
ทำให้ขอบแผลค่อยๆแยกกันออกช้าๆ
กว่าจะเห็นเป็นเดือน
การรักษาก็แค่ตัดแผลเป็นนั้นออกแล้วเย็บใหม่ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง
แผลเป็นนูนหนา (hypertrophic scar)
จะมองเห็นเป็นแผลเป็นที่นูนหนากว่าผิวหนังปกติรอบๆ
สีอาจเข้มหรือจางก็ได้
สาเหตุเป็นเพราะวิธีการเย็บและดูแลแผลไม่ดีพอที่จะทนต่อแรงดึงของผิวหนังบริเวณนั้น
ทำให้ขอบแผลค่อยๆแยกกันออกช้าๆ
ร่างกายก็สร้างแผลเป็นเข้าไปเสริมจนเพื่อสู้กับแรงดึง
กว่าจะเห็นเป็นเดือนหลังแผลหาย
การรักษาก็แค่ตัดแผลเป็นนั้นออกแล้วเย็บใหม่ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง
แผลเป็นคีรอยด์ (keloid)
แผลเป็นชนิดนี้
แยกได้ยากจาก "แผลเป็นนูนหนา"
แม้แต่แพทย์หลายคนทั้งแพทย์ทั่วไป
ศัลยแพทย์เอง
ก็วินิจฉัยผิดกันมาก
แผลเป็นแบบนี้ไม่ทราบสาเหตุ
ไม่ได้เป็นความผิดพลาดในเทคนิคการรักษาปิดแผล
มันเกิดขึ้นเอง
มากเป็นพิเศษในบางเชื้อชาติ
เช่น นิโกร
คนไทยเองก็มีโอกาสเกิดมากกว่าพวกฝรั่งผิวขาว
เกิดมากเป็นพิเศษที่บางตำแหน่งของร่างกาย
เช่น หน้าอก (เกิดได้แม้แต่แค่เป็นแผลแมลงกัด)
ต้นแขนด้านนอก (ตรงที่ฉีดยา)
ติ่งหู (พบเห็นบ่อยหลังเจาะหู)
ลักษณะสำคัญของแผลพวกนี้คือ
มันจะโตไม่หยุด
โตออกนอกขอบเขตที่เป็นแผลจริงๆ
ส่วนแผลเป็นนูนหนาจะโตอยู่ระยะหนึ่งแล้วหยุด
(3-6 เดือน)
และจำกัดอยู่ในขอบเขตของแผลสดตอนแรก
การรักษาก็ต่างไป คือ
รักษายากมาก ผ่าตัดออก
ก็กลับเป็นซ้ำมากกว่าครึ่ง
โดยทั่วไปแพทย์จะไม่แนะนำ
ปัจจุบัน
แนะนำให้ใช้ยาสเตียรอยด์ฉีดที่แผลเป็นเป็นระยะๆ
จนกว่าจะยุบ
กลับเป็นอีกก็ฉีดอีก
ทั่วโลกก็รักษาเหมือนกัน
ยังไม่มีใครพบวิธีที่ดีกว่านี้
อาจจะใช้ร่วมกับการตัดออก
แต่ต้องฉีดยาตาม (ไม่งั้นก็กลับเป็นซ้ำและอาจจะใหญ่กว่าเดิม)
มีหมอบางคนให้ฉายรังสี
ได้ผลบ้างแต่ไม่ใช่ 70-90%
คือต่ำกว่านั้น
และอาจมีผลเสียร้ายแรงตามมาจากการฉายแสง
กลับไปด้านบนสุด |