ณ เวลานี้
การแพทย์พัฒนาไปมาก
มีเทคนิคการดูดไขมันหลายอย่าง
ส่วนใหญ่ไม่ทราบจะแปลเป็นไทยอย่างไรจึงจะเหมาะ
เลยขอใช้ภาษาต่างประเทศไปเลย
เทคนิคการดูด
Suction-assisted lipectomy (SAL,
การดูดไขมันด้วยท่อธรรมดา)
วิธีนี้เป็นเทคนิคดั้งเดิมแรกสุดซึ่งยังคงเป็นที่นิยมมากที่สุด
คือใช้ท่อกลวงยาว
สอดผ่านแผลเล็กๆที่แพทย์จะเจาะซ่อนไว้ตามรอยพับของร่างกาย
เช่น สะดือ หัวเหน่า ข้อพับ
ร่องก้น
ปลายท่อจะมีรูอย่างน้อยหนึ่งรู
โคนท่อต่อกับสายยางซึ่งเชื่อมกับเครื่องดูดแรงสูง
ท่อสำหรับดูดไขมัน
ปัจจุบันมีผลิตมาหลายขนาด
ปลายท่อมีหลายแบบ
เมื่อสอดเข้าไปได้ที่
แพทย์ก็เปิดเครื่องดูด
แล้วดูดเอาไขมันออก
มากน้อยตามแต่จะวางแผนไว้
Ultrasound-assisted liposuction
(UAL, การดูดไขมันด้วยอัลตราซาวน์)
ปัจจุบันมีการประยุกต์เอาความรู้ด้านคลื่นเสียงมาใช้
แทนที่จะแค่สอดท่อกลวงแล้วดูด
มีการผลิตเครื่องที่สร้างสัญญาณเสียงส่งผ่านไปที่ปลายท่อยาว
เมื่อปลายท่อเข้าไปอยู่ในชั้นใต้ผิวหนัง
คลื่นเสียงที่ส่งไปก็จะไปกระทบกับเซลผิวหนัง
กลไกตรงนี้ยังไม่รู้แน่ชัด
แต่พบว่าสามารถทำให้เซลไขมันแตกสลาย
ท่อนั้นก็จัดการดูดเอาไขมันที่แตกออกมาไปจากร่างกายเสีย
วิธีนี้เรียกว่า "Internal UAL"
อีกแบบหนึ่งคือ "External UAL"
ใช้เครื่องสร้างสัญญาณเสียงในลักษณะเดียวกัน
แต่ส่งผ่านผิวหนังจากทางด้านนอก
ไม่ต้องสอดใส่เข้าไปใต้ชั้นผิวหนัง
จากนั้นจึงค่อยสอดท่อกลวงเข้าไปในชั้นใต้ผิวหนังดูดออกแบบเดียวกับ
SAL
ข้อดี คือ
-
เป็นการเลือกทำลายแต่เฉพาะเซลไขมัน
ไม่ทำลายเนื้อเยื่อชนิดอื่น
เสียเลือดน้อยกว่าวิธีอื่น
-
แพทย์ใช้แรงลดลงในการดูดเอาไขมันออก
-
แพทย์บางท่านพบว่าทำให้ผิวหนังมีการหดรัดตัว
(เสมือนว่าเต่งตึงมากขึ้น)
มากกว่าวิธีอื่น
ข้อเสีย คือ
- อุปกรณ์มากหลายชิ้น
และราคาแพงมาก
มากกว่าหนึ่งล้านบาท
การเตรียมห้องผ่าตัดก็ยุ่งยากตามไปด้วย
(นั่นหมายความว่า
ค่าห้องผ่าตัดก็อาจจะแพงขึ้นไปอีก)
-
คลื่นเสียงไม่ได้มีแต่ผลดี
มันทำให้เกิดความร้อนขึ้นรอบๆท่อที่ส่งคลื่นเสียง
ดังนั้นอาจทำให้ผิวหนังอุณหภูมิสูงจนเป็นอันตรายได้
อันนี้พบได้บ่อยๆในผู้ใช้ที่ยังไม่ชำนาญ
แม้ว่าจะมีการผลิตท่อดูดรุ่นใหม่ๆที่พยายามลดการสัมผัสของผิวหนังโดยตรงกับตัวท่อ
โอกาสเกิดอันตรายต่อผิวหนังก็ไม่ได้หมดไป
- ขนาดของท่อดูดที่ใช้อัลตราซาวน์มักมีขนาดใหญ่กว่าท่อดูดธรรมดา
เพราะต้องมีทั้งอุปกรณ์ส่งคลื่นเสียงไปที่ปลายท่อ
และวัสดุรอบท่อซึ่งคอยป้องกันไม่ให้ความร้อนไปทำอันตรายผิวหนัง
แผลทางเข้าของท่อจึงจะใหญ่ตามไปด้วย
-
มีโอกาสเกิดการคั่งของน้ำเหลืองหลังผ่าตัดได้สูงกว่าวิธีอื่น
สาเหตุอาจเป็นเพราะเกิดกรดไขมันอิสระที่มีความระคายเคืองจากการที่เซลไขมันแตกออกมา
- วิธีการทำ
ต้องมีขั้นตอนต่างๆไม่ตรงไปตรงมาเหมือนวิธีอื่น
-
แพทย์ที่จะทำวิธีนี้ได้ต้องผ่านการฝึกอบรมมาเป็นพิเศษ
เพื่อให้ได้ผลดีและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
Power-assisted liposuction
(PAL)
วิธีนี้เป็นวิทยาการล่าสุด
โดยใช้หลักการพื้นฐานแบบ
SAL แต่ตัวท่อมีความพิเศษ
คือ
ที่ปลายท่อจะมีสั่นเข้าออกด้วยมอเตอร์ช่วยในการดูดไขมัน
ทำให้แพทย์ใช้แรงน้อยลง
การผ่าตัดทำได้เร็วขึ้น
เครื่องมือ Medtronic
จำหน่ายโดยบริษัท Xomed
สังเกตรูปเล็กสี่น้ำเงิน
แสดงการสั่นเข้าออกของปลายท่อ
ข้อเสีย คือ
เครื่องมือมีราคาแพงมาก
เราต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
ทั้งยังเกิดเสียงดังกว่าวิธีอื่นๆจากการทำงานของมอเตอร์
แม้ว่าขณะนี้หลายบริษัทได้ผลิตเครื่องที่มีเสียงเบาลงกว่าเดิมมาก
ไม่ว่าจะใช้วิธีดูดแบบใด
ผลที่ได้รับจะดีก็ต่อเมื่อผิวหนังบริเวณนั้นยังมีคุณภาพดีพอที่จะหดรัดตัวเองให้รับกับชั้นไขมันที่หายไป
ความหนาของผิวหนังที่เล็กลงก็ต้องมีความราบเรียบเป็นธรรมชาติด้วย
ศัลยแพทย์จะอาศัยผ้าหรือยางยืดลักษณะต่างๆพันรัดอวัยวะส่วนที่ดูดตั้งแต่ดูดไขมันเสร็จใหม่ๆไปจนหลังทำเป็นระยะเวลาหนึ่ง
เพื่อให้ผิวหนังเหนือชั้นที่ถูกดูดไขมันไปได้ยึดติดกับชั้นใต้ผิวหนังอย่างดี
การเตรียมบริเวณที่จะดูด
/
ระยะเวลาที่ใช้ / กลับไปด้านบนสุด |