ถ้าเป็นการใส่คางเทียม
ปัญหาหลัก ก็คือ
การใส่สิ่งแปลกปลอมเข้าไปในร่างกาย
ซึ่งจะมากหรือน้อย
ขึ้นกับปัจจัย 2 ประการ
- ประสบการณ์ของศัลยแพทย์
-
คุณสมบัติของคางเทียมที่ใช้
แต่ถ้าเป็นการตัดเลื่อนกระดูก
ปัญหาขึ้นกับศัลยแพทย์เป็นหลักว่า
มีความรู้ ได้รับการฝึกฝน
และมีประสบการณ์ในการทำมากน้อยเพียงใด
อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่า
การใส่คางเทียม
นอกจากต้องอาศัยฝีมือหมอ
ยังมีสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้คือ
ปฏิกิริยาของร่างกายต่อสิ่งแปลกปลอม
เช่น
- การติดเชื้อ: อยู่ที่ 5-7%
ด้วยฝีมือผู้ที่ชำนาญมาก
-
กระดูกบางลงจากการถูกคางเทียมกดทับ:
เกิดขึ้นทุกราย
เพียงแต่จะมากหรือน้อย
และขึ้นกับชนิดของคางเทียม
ถ้าเป็นชนิดมีรูพรุน
โอกาสกระดูกบางลงน้อยกว่า
ถ้าเป็นวัสดุแข็ง
การกดทับกระดูกมากกว่า
ยิ่งถ้าอายุน้อย
กระดูกจะบางลงมากกว่า
- การเลื่อนที่:
เมื่อเราใส่คางเทียมและคลุมเนื้อเยื่อกลับเข้าที่
จะเกิดความดันความตึงที่คาง
จากของที่เพิ่มเข้ามา
ยิ่งคางเทียมขนาดใหญ่และแข็ง
ผลนี้ยิ่งมาก
เนื้อเยื่อที่คลุมบวกกับปฏิกิริยาหดรัดตามธรรมชาติเพื่อไล่สิ่งแปลกปลอมก็จะเป็นตัวทำให้คางเทียมเลื่อนที่ได้
นอกไปจากนี้แล้ว
ปัญหาจะคล้ายๆกัน คือ มีปัญหาทั่วไปที่เกิดขึ้นกับการผ่าตัดทุกชนิด
กับปัญหาเฉพาะ ได้แก่
การเลาะบริเวณคาง
จะทำให้เกิดอาการชาชั่วคราวที่คาง
ริมฝีปาก ฟันล่างด้านหน้า เพราะเมื่อใดก็ตามที่เราแยกผิวหนังจากที่ของมัน
เส้นประสาทเล็กๆก็จะถูกรบกวน
แต่ร่างกายจะสามารถซ่อมแซมตัวเอง
ความรู้สึกจะกลับคืนมา
โดยใช้เวลาเป็นเดือน
อาจนานถึง 6-12 เดือน
ชาถาวรบริเวณคาง
ริมฝีปาก
ฟันล่างด้านหน้า
เกิดจากไปตัดเอาเส้นประสาทใหญ่ตรงนั้น
อันนี้โทษหมออย่างเดียวเลย
นอกจากจะชา
อาจจะมีอาการแปลกๆเช่น
ปวดแปล๊บ ชายิบๆ
ความรู้สึกอาจจะกลับคืนมาบ้าง
แต่จะไม่ทั้งหมด
โอกาสจะพบปัญหานี้ได้บ่อยกว่าถ้าใช้วิธีตัดเลื่อนกระดูก
คางแม่มด หรือคางห้อย
อันนี้แปลจากภาษาอังกฤษ
"witches' chin"
คือเป็นผลจากการทำเราเลาะเนื้อเยื่อออกจากกระดูกคาง
แล้วไม่ซ่อมกลับให้เข้าที่
ทำให้เนื้อเยื่อส่วนนั้นไร้ที่ยึดเกาะ
ห้อยย้อย
ดูคล้ายคางของแม่มดฝรั่ง
เป็นเรื่องของเทคนิคการผ่าตัดครับ
เห็นรอยต่อระหว่างคางใหม่กับกระดูกกรามล่างในกรณีที่เสริมคาง
โดยไม่ว่าจะใช้วิธีใด
มีโอกาสที่จะเห็นคางใหม่นูนเด่นออกจากกรามล่าง
เทคนิคที่ดีไม่ควรปล่อยให้เห็นรอยต่อชัดเจนมากเกินไป
กลับไปด้านบนสุด |