Do one thing, do it best...

>>

ศัลยกรรมตกแต่ง

<<
 

หัวข้อย่อย

 
 

 
 

ค้นหาอย่างเร็ว

 

 

สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งและเสริมสร้างแห่งประเทศไทย

SiamMedic - Medical information and technology

สัญญลักษณ์ของ PLink

Sanook.com

 

 

 

การศึกษาต่อในต่างประเทศ

Oversea Training

ต้องยอมรับว่า ประเทศที่เจริญแล้วหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป คงความเป็นผู้นำทางการแพทย์มาตลอด รวมทั้งในสาขานี้ ความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ ความมั่งคั่ง และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เราไม่สามารถเทียบทันได้

ในสาขานี้ ส่วนใหญ่แล้ว เทคนิคการรักษาผ่าตัดที่เราใช้กันอยู่ในประเทศไทย ก็นำมาจากประเทศเหล่านั้น เว้นแต่ในบางกรณี หมอไทยเรากลับมีความชำนาญมากกว่าเสียอีก ด้วยความที่มีจำนวนผู้ป่วยบางโรคมากกว่า ได้ลงมือทำมากกว่า

แต่ข้อด้อยถาวรของเรา คือ การประเมินผลการรักษา การค้นคว้าวิจัยหาความรู้ใหม่ๆ และการเผยแพร่ผลงาน แพทย์ไทยหลายคนถือว่า ฝีมือดี ทำมาก แต่จริงๆแล้ว ไม่เคยมีการแสดงผลงานอย่างเป็นเรื่องเป็นราว เพื่อให้เห็นว่าดีจริงดังว่า เพื่อเปิดรับคำวิจารณ์ให้มีการพัฒนา เพื่อให้คนรุ่นหลังนำไปปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น แทนที่ต้องเริ่มต้นแต่ต้น เพื่อสร้างชื่อเสียงให้คนไทย ดังนั้น ความเจริญทางการแพทย์เรา ก็เลยยังย่ำอยู่ และต้องพึ่งแต่การนำเข้าความรู้ และความก้าวหน้าของประเทศที่พัฒนาแล้ว รัฐบาลก็ยังคงต้องส่งแพทย์ไทยไปศึกษาต่อในต่างประเทศ แม้ว่าจะต้องเสียเงินทุนส่งเสียแพทย์ไปเรียนต่อ มานานนับ 30-40 ปีแล้ว เทียบไปแล้ว เราสู้ประเทศญี่ปุ่นและไต้หวันไม่ได้ ที่ก้าวหน้าเป็นผู้นำในภูมิภาค

การไปศึกษาต่อของแพทย์ไทย แบ่งได้เป็น 2 แบบคือ
1. ทุนรัฐบาล
2. ทุนส่วนตัว
แต่ละแบบ มีลักษณะการเรียนรู้ 3 ประเภท
1. Residency training - เรียนแพทย์ประจำบ้านใหม่แต่ต้น เช่น อายุรกรรม กุมารเวชศาสตร์ ศัลยศาสตร์ สูติ-นรีเวชศาสตร์
2. Fellowship training - เรียนหรือฝึกอบรมในทางลึกของสาขาเฉพาะทาง ที่มีหลักสูตร ได้รับการรับรองจากสมาคมวิชาชีพของประเทศนั้นๆ หรือของโลก เช่น กุมารเวชศาสตร์ทางเดินหายใจด้านภูมแพ้ ศัลยศาสตร์ตกแต่งสาขา Craniofacial surgery ศัลยศาสตร์ตกแต่งสาขา Microsurgery หลักสูตรพวกนี้ มีระยะเวลาแน่นอน อย่างน้อย 6 เดือน อย่างมาก 3 ปี มีงานมอบหมายชัดเจน
3. ไปดูงาน - เฝ้าสังเกต ไม่มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาผู้ป่วย ไม่มีส่วนร่วมในงานวิจัย

ผู้ที่ไปด้วยทุนรัฐบาล ส่วนใหญ่มีโรงเรียนแพทย์เป็นต้นสังกัด ส่วนน้อยเป็นข้าราชการของโรงพยาบาลที่ไม่ใช่โรงเรียนแพทย์ จุดมุ่งหมายของต้นสังกัดจะมีความเฉพาะเจาะจงว่า ต้องการให้แพทย์คนนั้นมีความรู้และประสบการณ์ในด้านใด เพื่อจะได้กลับมาช่วยพัฒนาหน่วยงาน การไปเรียนรู้มักเป็นแบบที่ 1 และ 2 ซึ่งอาจจะนานนับปีๆได้

ผู้ที่เดินทางไปด้วยทุนส่วนตัวทั้งหมด แน่นอนว่าย่อมไม่สามารถไปอยู่ได้นานนัก ด้วยความแตกต่างของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา อัตราค่าครองชีพ ทั้งยังฐานะส่วนตัว แพทย์กลุ่มนี้มักจะใช้เวลาประมาณ 1-3 เดือน ในการดูงาน (ดูจริงๆครับ ยืนดูอย่างเดียว ไม่มีสิทธิ์ได้ทำอะไร) ซึ่งถ้ามองเรื่องปัญหาทางภาษา และความแตกต่างในเชื้อชาติ ระยะเวลาขนาดนั้น อาจไม่เพียงพอจะทำให้ได้เห็นหรือซาบซึ้งถึง แนวคิดในการดูแลรักษาผู้ป่วย เทคนิคการผ่าตัด ความหลากหลายของโรคและวิธีการรักษา ผลการรักษาในระยะยาว ทั้งยังอาจจะได้แค่จำวิธีการผ่าตัดมาแค่นั้น ถ้าขาดวิจารณญาณและนำมาใช้กับคนไข้ อาจกลายเป็นผลเสียมากกว่าผลดี

ยังมีอีกแพทย์อีกกลุ่มที่เดินทางไปด้วยทุนส่วนตัวในระยะแรก แล้วสามารถผ่านการคัดเลือกเข้าไปเรียนในสาขาเฉพาะทางตั้งแต่ต้น (residency training = แพทย์ประจำบ้าน หรือ resident) กว่าจะจบก็ 5-6 ปีขึ้นไป แต่ส่วนใหญ่จะเป็นสาขาอายุรกรรม และกุมารแพทย์ ซึ่งเปิดรับเป็นจำนวนมาก สำหรับสาขานี้ หายห่วงครับ ไม่มีสิทธิ์ คนเขาเองก็แก่งแย่งกันแทบแย่แล้ว

***ความจริงในส่วนนี้ แสดงให้เห็นว่า สำหรับสาขาศัลยกรรมตกแต่ง ให้ดูให้ดีว่า ที่ว่าไปศึกษาต่างประเทศมา ไปแบบไหน ไปนานเท่าใด เพราะนั่นก็คือตัวตัดสินประสบการณ์ของแพทย์คนนั้น แต่แน่นอนว่า แพทย์ที่รับการฝึกอบรมเพิ่มเติมอยู่สม่ำเสมอ ย่อมมีคุณภาพดีกว่า

เรื่องต่อไป สมาคมวิชาชีพ มีความสำคัญอย่างไร...

กลับไปด้านบน

 

 

 

Residency Training

 

 

Fellowship Program

 

ไปดูงาน

 

 

 

ไปต่างประเทศ!

 

horizontal line


ผลิตโดย DrNond@hotmail.com
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10/06/44