Do one thing, do it best...

>>

ศัลยกรรมตกแต่ง

<< Up ] ข้อบ่งชี้ ] การเตรียมตัว ] เทคนิค ] ผลลัพธ์ ] [ ปัญหา ] ค่าใช้จ่าย ]
 

หัวข้อย่อย

 
 

 
 

ค้นหาอย่างเร็ว

 

 

สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งและเสริมสร้างแห่งประเทศไทย

SiamMedic - Medical information and technology

สัญญลักษณ์ของ PLink

Sanook.com

 

 

 

การดูดไขมัน

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

 การดูดไขมัน ถือเป็นการผ่าตัดชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะถ้าดูดออกเป็นปริมาณมาก เป็นหนึ่งในการผ่าตัดทางศัลยกรรมเสริมสวยไม่กี่อย่างที่ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ อัตราตายจากตัวเลขฝรั่งอยู่ที่ 0-2 ต่อ 100,000 คน !

ส่วนภาวะแทรกซ้อนเฉลี่ยที่ประมาณ 10%  ประกอบด้วยปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนทั่วไปที่เกิดกับทุกการผ่าตัด และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดเฉพาะกับการดูดไขมัน ได้แก่

  1. ปัญหาเฉพาะบริเวณที่ทำการดูดไขมัน
    - น้ำเหลืองคั่งใต้ผิวหนัง พบได้บ่อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคนิคการดูดไขมันด้วยอัลตราซาวน์ คงเป็นด้วยการที่แพทย์ใช้ท่อดูดไขมันออกจากชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ทำให้มีการทำลายเซลไขมันและท่อน้ำเหลือง  ปัจจุบันจึงนิยมใส่ท่อระบายไว้ใต้ผิวหนังที่ทำเมื่อเสร็จการผ่าตัด  เคยมีรายงานผู้ป่วยหนึ่งรายในอเมริกา พบมีก้อนไขมันขนาดใหญ่ที่หน้าท้องหลังทำการดูดไขมันเป็นเวลาหลายเดือน
    - ผิวหนังบริเวณที่ทำขรุขระไม่เรียบ ถ้าเกิดขึ้นแล้วแก้ยากทีเดียว อาจเกิดจากการดูดไขมันออกจากผิวหนังชั้นตื้นอย่างไม่สม่ำเสมอ  การแก้ไขอาจต้องทำการดูดไขมันซ้ำจากส่วนที่ยังนูนหนาอยู่ หรือฉีดไขมันเข้าไปที่บริเวณที่บางบุ๋มเกินไป
    - เลือดออก ณ บริเวณที่ทำ อันนี้เป็นจากท่อที่ใช้ดูดไขมันโดยตรง ส่วนใหญ่เป็นเส้นเลือดเล็กๆที่ฉีกขาดแล้วไม่หยุด การใช้ยาอะดรีนะลีนฉีดก่อนดูดในการดูดไขมันแบบเปียกร่วมกับการใช้ผ้ารัดบริเวณที่ทำจะลดปัญหานี้ไปได้มาก
    - อากาชาหรือความรู้สึกเสียวแปล๊บผิวหนังบริเวณที่ทำ อันนี้ไม่ต่างจากการผ่าตัดอย่างอื่น ยกเว้นว่า ท่อดูดไขมันไปบาดเจ็บต่อเส้นประสาทใหญ่บริเวณนั้นโดยตรง อาการก็จะมาก
    - ผิวหนังเป็นอันตรายจากความร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีที่ใช้อุลตราซาวน์
    - การบาดเจ็บต่ออวัยวะที่อยู่ใต้ชั้นไขมัน จากท่อที่ใช้ดูดไขมันแทงลึกทะลุลงไป เช่น ทะลุของผนังช่องท้องไปโดนอวัยวะภายในกรณีทำที่หน้าท้อง  ทะลุไปโดนเส้นเลือดใหญ่กรณีทำที่ขา สิ่งเหล่านี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วเท่านั้น
    - การติดเชื้อ เกิดไม่บ่อย ส่วนใหญ่เป็นเชื้อแบคทีเรีย  แต่เคยมีรุนแรงมาก พบในผู้ป่วยที่ญี่ปุ่น มีการติดเชื้อลุกลามจากบริเวณที่ทำไปเป็นการติดเชื้อทั่วร่างกาย เกิดอาการความดันโลหิตต่ำ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
    - ลดสัดส่วนได้ไม่ดังใจ เป็นไปได้อย่างยิ่งและไม่แปลกที่คุณอาจต้องทำการดูดไขมันซ้ำอีก อันนี้เป็นผลต่างระหว่างความคาดหวังของคุณกับความสามารถที่หมอจะทำให้ได้
    - ผิวหนังเป็นสีคล้ำ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง มีพบได้ 4% เฉพาะกรณีที่ทำการดูดไขมันบริเวณต้นขาด้านใน
  2. ปัญหาที่เกิดแก่ร่างกายทั้งระบบ
    - ภาวะน้ำเกิน เกิดจากการที่แพทย์ต้องฉีดน้ำเกลือเข้าชั้นใต้ผิวหนังจำนวนมากในการดูดไขมันแบบเปียก น้ำเกลือเหล่านี้ร่างกายจะดูดซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียน  ถ้ามากเกินขนาดที่หัวใจจะรับไหว ก็เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เป็นหัวใจวาย น้ำท่วมปอด
    - ปัญหาจากยาชา โดยอาจจะเป็นการแพ้คือได้รับยาชาเข้าไปเพียงเล็กน้อยก็ชารอบปาก ผื่นตามตัว แน่นหน้าอก ความดันโลหิตตก ช็อก หมดสติ  หรือเป็นยาชาเกินขนาด คือได้รับยาชาเข้าไปจำนวนมากเกินกว่าที่ร่างกายจะทำลายได้ทัน ยาชาจะไปมีผลกดหัวใจและระบบประสาท ทั้งสองกรณีเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
    - ปัญหาจากการได้รับยาอะดรีนะลีนเกินขนาด ร่างกายกำจัดไปทัน ยาไปเร่งการทำงานของระบบประสาทและหัวใจ เส้นเลือดทั่วร่างกายบีบตัวอย่างรุนแรง  หัวใจอาจจะขาดเลือดไปเลี้ยง อาจจะวาย และเสียชีวิตได้
    - การเสียเลือด ด้วยเทคนิคการดูดไขมันในปัจจุบัน เราไม่สามารถเลือกดูดเฉพาะไขมัน เลือดจะถูกดูดไปด้วย มากน้อยแล้วแต่เทคนิควิธีการของหมอแต่ละคน มีความเป็นไปได้ที่อาจจะเสียเลือดมากจนเกิดอันตราย ไม่ว่าจะโลหิตจาง หรือเกิดอาการช็อค
    - เส้นเลือดปอดเกิดการอุดตันเฉียบพลัน พบน้อยมาก โดยเชื่อว่าเกิดจากมีก้อนไขมันเล็กๆหลุดไปในกระแสโลหิต ไหลเวียนไปถึงเส้นเลือดที่ปอด แล้วอุดตันเฉียบพลัน ผลคือเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน ปอดไม่สามารถแลกเปลี่ยนอากาศได้ตามปกติ ทำให้เสียชีวิตเฉียบพลันได้

จะเห็นได้ว่า การดูดไขมันเป็นศัลยกรรมตกแต่งที่มีปัญหาได้มากทีเดียว บทเรียนจากศัลยแพทย์ทั่วโลกทำให้เราทราบว่า การดูดไขมันจะมีปัญหาต่างๆมากขึ้น ถ้า
- แพทย์ขาดประสบการณ์
- ทำผ่าตัดอย่างอื่นร่วมไปกับการดูดไขมัน
- ดูดไขมันออกเป็นปริมาณมากๆ เป็นผลให้ต้องใช้เวลาทำผ่าตัดนานมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามากกว่า 5,000 ซีซี

กลับไปด้านบน

 

horizontal line

Home ] Up ] ข้อบ่งชี้ ] การเตรียมตัว ] เทคนิค ] ผลลัพธ์ ] [ ปัญหา ] ค่าใช้จ่าย ]

ผลิตโดย DrNond@hotmail.com
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10/10/43