Do one thing, do it best...

>>

ศัลยกรรมตกแต่ง

<< Up ] ข้อจำกัด ] เวลาที่เหมาะสม ] สถานที่ผ่าตัด ] เทคนิค ] ค่าใช้จ่าย ] [ วัสดุสังเคราะห์ ]
 

หัวข้อย่อย

 
 

ชนิดของวัสดุ

 
 

ค้นหาอย่างเร็ว

 

 

สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งและเสริมสร้างแห่งประเทศไทย

SiamMedic - Medical information and technology

สัญญลักษณ์ของ PLink

Sanook.com

 

 

 

การใส่วัสดุสังเคราะห์เข้าสู่ร่างกาย

Implant and body reaction

ก่อนที่ท่านจะตัดสินใจทำผ่าตัดใดๆก็ตามที่ต้องใส่วัสดุสังเคราะห์เข้าสู่ร่างกาย ขอให้พิจารณาข้อดี-ข้อเสียต่อไปนี้ก่อน

ข้อดี

  1. ง่ายและสะดวกในการใช้ เพราะส่วนใหญ่จะทำมาสำเร็จรูป ใช้ได้ทันที ไม่ว่าจะเสริมจมูก คาง โหนกแก้ม หน้าผาก เต้านม ฯลฯ  หรืออาจจะมาเป็นแท่งเป็นบล็อคซึ่งปรับเปลี่ยนรูปร่างได้โดยง่าย
  2. วัสดุที่ผลิตมาสำเร็จรูป จะทำมาเท่ากันทั้งสองข้าง ผิวเรียบ ขอบสม่ำเสมอ ชนิดที่ว่าทำเองด้วยมือไม่ได้ หรือถ้าต้องปรับรูปร่างขนาดบ้าง ก็ทำได้ไม่ยาก
  3. หลีกเลี่ยงการใช้เนื้อเยื่อของตัวผู้ป่วยเอง ก็ไม่ต้องเสียเวลาหรือมีปัญหาแทรกซ้อนจากตำแหน่งที่นำเนื้อเยื่อมา เช่น ถ้าต้องนำกระดูกจากทรวงอกหรือกะโหลกศีรษะ อาจมีการทะลุของเยื่อหุ้มปอดหรือเยื่อหุ้มสมอง
  4. ส่วนใหญ่ ใช้เวลาผ่าตัดสั้น

ข้อเสีย

  1. แพง แทบทั้งหมดที่ใช้ในบ้านเรา นำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งเสียดุลการค้า(คนไทยจนลง) คนไข้ก็จ่ายมาก
  2. การติดเชื้อสูงกว่าปกติ หลายรายไม่ได้ติดเชื้อชัดเจน แต่จะอักเสบ ผิวหนังเห็นเป็นสีแดง ปวด  ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วง 2 สัปดาห์แรก แต่บางรายก็เกิดในระยะหลังเป็นเดือนๆได้ ความพยายามที่จะรักษาด้วยวิธีให้ยาอาจไม่ได้ผล ต้องลงเอยด้วยการนำออก แล้วรักษาให้หายดี รอจนกว่าเนื้อเยื่อบริเวณกลับเป็นปกติ คืออย่างน้อย 6 สัปดาห์ จึงจะสามารถคิดกลับมาใส่ใหม่
  3. ร่างกายมีปฏิกิริยาต่อต้าน พยายามขับไล่ จนในที่สุด วัสดุนั้นถูกดันมาเบียดชิดผิวหนัง อาจเป็นแผล อาจทะลุในที่สุด ทั้งหมดนี้ใช้เวลาเป็นเดือนเป็นปี
  4. การบางลงของกระดูก จากการวางวัสดุสังเคราะห์ทับไว้  ยิ่งกระดูกยังไม่เจริญเต็มที่ อย่างในเด็กหรือวัยรุ่น ยิ่งใส่วัสดุขนาดใหญ่ ยิ่งวัสดุที่ใช้แข็งมาก ยิ่งบริเวณนั้นมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา  กระดูกก็ยิ่งบางมาก  ดังนั้น ผลการเสริมด้วยวัสดุเหล่านี้ ก็จะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป (แต่แค่เป็นมิลมิเมตร) และถ้ามีเหตุต้องนำวัสดุนั้นออก (ซึ่งมีโอกาสมาก) จะกลายเป็นว่า อวัยวะส่วนนั้นยิ่งแบนเล็กกว่าก่อนใส่ เช่น จมูกไม่มีดั้ง ใส่ซิลิโคนเข้าไป 2 ปีต่อมา ต้องนำออก ถ้าไม่ใส่อันใหม่ จะเห็นเลยว่า จมูกแบนมาก มากไปกว่าเมื่อก่อน
  5. การบิดเบี้ยวของอวัยวะ จากการหดรัดของร่างกายต่อวัสดุแปลกปลอม ธรรมชาติจะสร้างปราการ เป็นเยื่อหุ้มรอบสิ่งแปลกปลอม เยื่อนี้จะสร้างแรงรัดต่อทั้งวัสดุและเนื้อเยื่อปกติที่อยู่รอบๆ ผลนี้สามารถรุนแรงจนทำให้ผิวหนังที่คลุมอยู่เกิดการบิดเบี้ยวผิดรูปไป เช่น ถ้าใส่นมเทียม อาจมีการบิดเบี้ยวของเต้านมทั้งข้างนั้นได้ ถ้าใส่คางเทียม ก็อาจเห็นรอยที่ผิวหนังเป็นขอบหรือบุ๋มรอบคาง  นอกจากนี้ยังอาจจะทำให้เจ็บปวดร่วมด้วย
  6. การเลื่อนที่ของวัสดุไปจากตำแหน่งที่ตั้งใจวางไว้แต่เดิม อันนี้ก็เป็นผลจากการหัดรัดในข้อ 5
  7. การรั่วซืมเข้าสู่เนื้อเยื่อรอบๆ ถ้าใช้ของสังเคราะห์ที่เป็นถุง ภายในบรรจุวัสดุสังเคราะห์ที่เป็นของเหลว เช่น ซิลิโคน  เมื่อเวลาผ่านไป ความเสื่อมของถุง จะทำให้สิ่งที่บรรจุอยู่ภายในรั่วซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อรอบๆ และกระจายไปทั่วร่างกายได้
  8. วิธีการใช้ ดูเหมือนจะง่าย แต่จริงๆแล้ว ตัองการประสบการณ์และเทคนิควิธีการที่ดีมากๆ ในการป้องกันผลเสียทั้งหลายที่ว่ามาทั้งหมด ดังนั้น หมอที่เริ่มใช้วัสดุสังเคราะห์เหล่านี้ใหม่ๆโดยไม่ได้ฝึกฝนอบรมมาอย่างดี จะมีโอกาสสร้างปัญหาได้มาก
  9. ผู้ที่เป็นโรคของลิ้นหัวใจ การใส่วัสดุสังเคราะห์อาจทำให้เป็นอันตราย อาการโรคหัวใจกำเริบได้

ปัญหาต่างๆข้างต้น เกิดขึ้นได้กับวัสดุสังเคราะห์ทุกชนิด เพียงแต่จะมากน้อยขึ้นกันชนิดของวัสดุ ปริมาณที่ใส่ ตำแหน่งที่ใส่ วิธีการหรือเทคนิคของแพทย์

ดังนั้น ถ้าท่านทำใจยอมรับผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นไม่ได้ ก็อย่าใช้วัสดุสังเคราะห์  แต่ถ้าท่านเห็นดีว่าคุ้มค่าเสี่ยง ไว้ใจหมอ ก็ทำได้เลย  โดยควรเป็นการตัดสินใจร่วมระหว่างหมอกับคุณ ว่าจะใช้วัสดุสังเคราะห์หรือไม่ ถ้าใช้ จะใช้ประเภทไหน

 แต่ไม่ว่าจะอย่างไร มีบางกรณีที่ท่านไม่ควรเห็นด้วยกับหมอเด็ดขาด คือ

  1. การฉีดสิ่งแปลกปลอมชนิดเหลว ที่ไม่สลายหายไป ด้วยความที่เป็นของเหลว มันจะเพิ่มปัญหาอีกประการ นอกเหนือไปจากที่กล่าวข้างต้น คือ เวลาจำเป็นต้องเอาออก ไม่มีใครช่วยคุณได้ครับ มันกระจัดกระจายเป็นเม็ดเล็กเม็ดน้อยทั่วไป ในทางเทคนิค หมอทำไม่ได้ครับ เช่น ฉีดซิลิโคนเหลวที่คาง ที่โหนกแก้ม ที่หน้าผาก ฉีดพาราฟินที่อวัยวะเพศชายให้มีขนาดใหญ่ขึ้น มันจะดูดีเฉพาะตอนแรก ต่อมา ปัญหาที่ว่าข้างบนจะถามหา สุดท้ายอยากให้เอาออก ด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่ เช่น มันเป็นเม็ดๆเล็กๆ แข็งไปทั่วทั้งตรงที่ฉีดและไม่ฉีด ดูก็ไม่เรียบ เอาออกไม่ได้แล้วครับ มันยากมากที่จะนำออกให้หมด ไม่มีทางจะทำให้ผิวหนังกลับเช่นเดม   เราคงต้องรอไปอีกระยะหนึ่ง กว่าที่ความก้าวหน้าทางการแพทย์จะไปถึงจุดที่ สามารถผลิตวัสดุสังเคราะห์ที่ไม่ละลาย และสามารถฉีดทิ้งไว้ในร่างกายโดยไม่มีผลเสีย
  2. การใช้วัสดุสังเคราะห์ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากองค์การอาหารและยา (ไม่เฉพาะของไทย) เป็นการไม่ฉลาดที่เราจะใช้ของที่ อย.บ้านเราไม่ห้าม (ไม่ห้าม ไม่ได้หมายความว่า ดี) แต่ที่อื่นหลายประเทศเขาห้าม และเป็นของผิดกฏหมาย

กลับไปด้านบนสุด

 

 

 

 

 

 

 


"เป็นการไม่ฉลาดที่เราจะใช้ของที่อย.บ้านเราไม่ห้าม (ไม่ห้าม ไม่ได้หมายความว่า ดี) แต่ที่อื่นหลายประเทศเขาห้ามและเป็นของผิดกฏหมาย"


 

 

horizontal line

Home ] ข้อจำกัด ] เวลาที่เหมาะสม ] สถานที่ผ่าตัด ] เทคนิค ] ค่าใช้จ่าย ] [ วัสดุสังเคราะห์ ]
ชนิดของวัสดุ ]

ผลิตโดย DrNond@hotmail.com
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24/10/43